hovfs
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)  |  
 

   

 

ตำนานข้าวหอมมะลิ

    นักโบราณคดีวิเคราะห์ว่าข้าวเป็นพืชที่กำเนิดมาไม่ต่ำกว่า 600 ล้านปี แต่มนุษย์รู้จักนำมาบริโภคเป็นอาหารเมื่อ 15,000 ปี ส่วนการเพาะปลูกข้าวนั้นเมื่อ 10,000 ปี บริเวณที่เพาะปลูกรุ่นแรกๆ ได้แก่ บริเวณเมโสโปเตเมีย บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 6,000 ปี       

    จากหลักฐานโบราณคดีขุดค้นในถ้ำจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าข้าวเป็นพืชที่อยู่คู่แผ่นดินไทยเมื่อประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนไว้ในคำนำหนังสือเรื่อง ข้าวปลา หมาเก้าหางอย่างน่าสนใจ และมีการปลูกข้าวก่อนประเทศจีน และประเทศอินเดีย ราว 3,000 ปีอีกด้วย และจากการพบข้าวสารดำในเจดีย์โบราณ ยุดสมัยพุทธศาสนารุ่งเรื่อง และหลัดฐานรอยแกลบข้าวอยู่ในอิฐสมัยทาราวดี และสมัยต่อๆ มา โดยการนำไปตรวจกาค่าคาร์บอน 14 จึงปรากฏชันว่าข้าวอยู่กับคนไทยแต่โบราณกาล ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เหมาะสมในการปลูกข้าว ทำให้ประชาชนชาวไทย ร้อยละ 70 มีอาชีพในการปลูกข้าว นั้นคือ ทำให้คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักตลอดมา และมีความเชื่อว่า ข้าวเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ มีจิตวิญญาณ จึงทำให้เกิดความเชื่อในอำนาจของแม่โพสพ 

  

  แม่โพสพถือว่าเป็นธิดาแห่งข้าว หรือเจ้าแม่แห่งข้าว มีรูปร่างเป็นหญิงสาวนั่งพับเพียบพะแนงเชิงอย่างไทย ไว้ผมประบ่า มีครอบหน้า หรือจอนหู ห่มผ้าสไบเฉียง จากซ้ายไปขวา เมื่อข้าวกำรวงข้าวแนบไว้ที่หน้าอก

  ชาวนาไทยเชื่อว่าแม่โพสพ เป็นผู้คอยดูแลต้นข้าวให้งอกงาม ไพบูลย์เป็นต้นมา ดังนั้น เมื่อเริ่มทำนาจนกระทั่งถึงเวลาเก็บเกี่ยวจนกระทั่งจนเอาไปใส่ยุ้งฉาง ชาวนาจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้บูชาแม่โพสพทุกระยะ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการทำนามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังจะเห็นได้จากพระราชพิธีพืชมงคลจรดพนังคันแรกนาขวัญ ประเพณีแห่นางแมวพิธีขอฝน พิธีทำขวัญข้าว ทำขวัญวัวควาย พิธีปิดและเปิดยุ้งข้าว และประเพณีบุญคูนลานของจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ปรากฏช่วงเดือนมกราคม ของทุกปี 

  จึงกล่าวได้ว่าพื้นที่ในเมืองไทยนั้นมีอารยธรรมการปลูกข้าวรุ่นแรกๆ ของโลก เพราะเป็นเขตมรสุม พื้นที่ราบมีน้ำอุดมสมบูรณ์ แม้ในปัจจุบันบริเวณดังกล่าวมีพันธุ์ข้าวมากที่สุด มีหลายร้อยพันธุ์และมีชื่อข้าวหลายร้อยชนิด


มหัศจรรย์คุณค่าแห่งข้าว

    ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวโลกมานานนับพันปี พลเมืองทั่วโลกรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะข้าวมีสารอาหารครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีแป้งในปริมาณที่สูงมาก จึงเป็นแหล่งให้พลังงานที่ดีที่สุด นอกจากนั้น ข้าวยังมีสารอาหารอื่นๆ เช่น โปรตีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนหลายชนิด มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว มีวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินบีรวมจะมีมากเป็นพิเศษ มีแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไนอาซีน ซีลีเนี่ยม แม็กนีเชี่ยม โครเมียม เป็นต้น

  จากการศึกษาค้นคว้าในห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์และการแพทย์ พบสารอาหารเพิ่มเติมในข้าวอีกหลายชนิด เช่น สารแกมมาออไรซานอล โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และอื่นๆ อีกหลายชนิด แต่ข้าวที่มีสารอาหารดังกล่าวอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ ต้องเป็นข้าวกล้องที่มีจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่รอบเมล็ดในปริมาณที่มากเท่านั้น ข้าวที่ขัดสีจนขาวสะอาดไม่มีจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ จะไม่มีสารอาหารดังกล่าว จะเหลืออยู่แต่แป้งเท่านั้น

   ข้าวที่ควรรับประทาน คือ ข้าวกล้องที่มีจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่รอบเมล็ดในปริมาณที่มาก จึงจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดี ส่วนข้าวขัดขาว ไม่ควรรับประทาน เพราะให้แค่พลังงานที่มาจากแป้งและน้ำตาล หากรับประทานต่อเนื่องกันนานๆ จะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดัน โรคเส้นเลือดตีบตัน โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคอัมพฤกษ์ เป็นต้น

 

องค์ประกอบของข้าว 

   ปัจจุบันการตื่นตัวของผู้บริโภคในการกินอาหารที่มีคุณค่าเริ่มมากขึ้น แต่หลายท่านมักมองไปในรูปของอาหารเสริม หรือวิตามิน และมักละเลยสิ่งที่ใกล้ตัว เหตุเพราะเรากินกินข้าวกันทุกวัน หลายคนคิดว่าการกินข้าวจะได้เพียงแป้งหรือสารอาหารคาร์โบไฮเดรต แต่หารู้ไม่ว่าหากเราเลือกกินข้าวที่ถูกต้อง ก็จะได้คุณค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

 ก่อนที่จะเป็นข้าวและสิ่งที่เสียไป

         
ก่อนที่จะมาเป็นข้าว(ขาว) ที่เรากินอยู่ทั่วไปนั้น กระบวนการจะเริ่มต้นจากเมล็ดข้าว หรือเรียกอีกอย่างว่า ข้าวเปลือก

ข้าวเปลือกมีส่วนสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ แกลบและเนื้อข้าว



  

แกลบ  คือ เปลือกส่วนภายนอกสุดที่ห่อหุ้ม “เนื้อข้าว“

เนื้อข้าว
คือ ส่วนภายในทั้งหมดที่แกลบห่อหุ้มอยู่ ซึ่งประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ด จมูกข้าว (เชื้อชีวิต) และเนื้อเมล็ด

เมื่อนำข้าวเปลือกมาผ่านกรรมวิธีการสีข้าว กระบวนการนี้คือแยกเปลือกของเมล็ดข้าว ออกจากเนื้อข้าวโดยการกะเทาะเปลือก ที่เรียกว่า แกลบออก เนื้อข้าวที่เหลือก็เป็นข้าวกล้อง เมื่อนำข้าวกล้องมาสีและขัด ก็จะได้ข้าวขาวหรือเรียกว่า เนื้อเมล็ดหรือรำข้าว

   รำข้าว ซึ่งประกอบด้วย เยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าว คือส่วนที่โรงสีจะนำไปขายต่อผู้เลี้ยงหมู หรือเลี้ยงไก่ ดังนั้นสิ่งที่สูญหายไประหว่างการขัดสีข้าวกล้องเป็นข้าวขาว ก็คือเยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าว เยื่อหุ้มเมล็ด มีวิตามิน เกลือแร่อยู่บ้าง แต่จะมีใยอาหารสูง ปัจจุบันวงการแพทย์ได้ยอมรับว่า ผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าท้องผูก จนถึงมะเร็งในลำไส้ มักเป็นคนที่ชอบกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อย 

   ส่วนจมูกข้าว(เชื้อชีวิต) นี้อาจเรียกได้ว่า ตัวอ่อนของเมล็ดข้าวก็ได้ เพราะเป็นส่วนสำคัญของเมล็ดในการสืบพันธุ์ ซึ่งจะงอกออกมาเป็นต้นและราก ดังนั้นที่เชื้อชีวิตนี้จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วย โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ข้าวขาวที่กินกันทั่ว ๆ ไป จึงเหลือแต่เนื้อเมล็ดหรือสารอาหารคาร์โบไฮเดรตเสียส่วนใหญ่ แต่ขาดสารอาหารอื่น ๆ ที่อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดและเชื้อชีวิต คุณค่าทางอาหารจึงน้อยกว่าข้าวกล้อง

 

สารอาหารในข้าว 

ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวไทยและชาวเอเชียมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ จากความรู้พื้นฐานในชั้นประถมครูจะสอนนักเรียนว่าองค์ประกอบหลักในข้าวชนิดต่างๆ คือแป้ง อย่างไรก็ตามในข้าวยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ เช่นคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน, ใยอาหาร, โซเดียม, โพแทสเซียม, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, เหล็ก, สังกะสี, ทองแดง, วิตามิน บี1, วิตามิน บี 2 และไนอาซิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบในข้าวที่มีรงควัตถุสีดำหรือสีแดง เช่นข้าวเหนียวดำและข้าวแดงเป็นต้น 

รงควัตถุสีดำหรือสีแดงที่พบในข้าวมีหน้าที่ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) สำหรับอนุมูลอิสระนั้นได้พบว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อกระบวนการชราและการเกิดโรคต่างๆ ในมนุษย์เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น โดยปกติระบบการต่อต้านอนุมูลอิสระในพืชและในสัตว์สามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบด้วยกันคือ  

    1) ระบบที่ใช้เอนไซม์เช่น superoxide dismutase, catalase และascorbate peroxidase 

    2) ระบบที่ไม่ใช้เอนไซม์เช่น วิตามินซี วิตามินอี กลูตาไทโอน รงควัตถุในกลุ่มแคโรทีนอยด์และฟลาโวนอยด์เป็นต้น  

 

ระบบการต่อต้านอนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติในสิ่งมีชีวิตในกรณีที่มีการสะสมอนุมูลอิสระจากสภาวะ oxidative stress ไม่ว่าจะเป็น super oxide radical หรือ hydroxyl radical  แต่ในกรณีที่มีการสะสมอนุมูลอิสระในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้กลไกการกำจัดอนุมูลอิสระในสิ่งมีชีวิตไม่สามารถต้านทานได้จึงส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต ดังนั้นการได้รับสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากภายนอกจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอันตรายจากอนุมูลอิสระ

 

รงควัตถุในข้าวที่พบเห็นกันโดยทั่วไปมีสีดำ สีแดง หรือสีในโทนม่วงดำ จากการศึกษาพบว่ารงควัตถุเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในรงควัตถุประเภทฟลาโวนอยด์โดยเฉพาะกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งแอนโทไซยานินในข้าวแดงและข้าวเหนียวดำจัดอยู่ในกลุ่มของ cyaniding-3-O-beta-D-glucoside (Cy 3-Glc) ที่ตรวจพบมากในพืชทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนใบของพืช จากการศึกษาของทีมวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่นพบว่ารงควัตถุที่สกัดได้จากข้าวที่มีสีม่วงดำมีคุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระในกลุ่ม superoxide radical และกลุ่ม hydroxyl radical นอกจากนี้นักวิจัยในประเทศอเมริกาพบว่าข้าวและธัญพืชที่มีรงควัตถุสีดำหรือสีแดงมีกิจกรรมของการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงใกล้เคียงกับผลบลูเบอรี่ ซึ่งผลไม้ในตระกูลเบอรี่ได้ชื่อว่าเป็นแห่งที่ดีของสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

ส่วนในประเทศจีนได้มีการศึกษาผลของข้าวที่มีสีแดงและสีดำต่อการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดกระต่ายโดยเปรียบเทียบกับการเลี้ยงด้วยข้าวขัดขาวพบว่าภาวการณ์อุดตันของเส้นเลือดของกระต่ายที่กินข้าวแดงมีค่าน้อยกว่ากระต่ายที่กินข้าวขัดขาวถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังพบว่าระดับของระดับของ reactive oxygen species และ malondialdehyde (ผลผลิตของการเกิด lipid per oxidation) ที่อยู่ในตับของกระต่ายที่กินข้าวแดงมีการสะสมในปริมาณน้อย ในขณะเดียวกันมีกิจกรรมการต่อต้านอนุมูลอิสระและกิจกรรมของเอนไซม์ superoxide dismutase เพิ่มสูงขึ้น และยังพบว่าข้าวแดงยังช่วยให้มีการสะสมของ DHL ซึ่งเป็นคลอเรสเตอรอลชนิดที่เป็นประโยชน์ในเลือดกระต่ายอีกด้วย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการบริโภคข้าวที่มีรงควัตถุสีแดงหรือสีดำมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการรักษาระดับการต่อต้านอนุมูลอิสระภายในสิ่งมีชีวิต ข้าวที่มีสีน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง เนื่องจากในโลกปัจจุบันพบว่าประชากรโลกมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการบริโภค ทำให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรค เพียงแต่ผู้บริโภคให้ความสนใจและระมัดระวังเกี่ยวการกินอีกสักนิดจะทำให้ชีวิตห่างไกลโรค

ข้าวมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่างๆมากมาย เช่นคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน, ใยอาหาร, โซเดียม, โพแทสเซียม, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, เหล็ก, สังกะสี, ทองแดง, วิตามิน บี1, วิตามิน บี 2 และไนอาซิน

  

สรรพคุณที่มหัศจรรย์ในข้าว

 

ข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ Oryza Glaberrima อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงสามารถต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ ประกอบด้วยสารที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

1.มีสาร Gamma-Orzanol ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้อวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ สมอง ตับอ่อน และอื่นๆ มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น และที่เสื่อมสภาพก็กลับฟื้นตัวและทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ, โรคตับ, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคความจำเสื่อม และ มีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง

2. ช่วยลดระดับของ แอล ดี แอล (LDL) คอเลสเตอรอล ซึ่งก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย

3. ช่วยเพิ่มระดับของ เอช ดี แอล (HDL) คอเลสเตอรอล ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

4. ช่วยลดระดับไขมันไตรกรีเซอไรด์ (Triglyceride) ในเส้นเลือด

5.ลดไขมันที่สะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ไม่อ้วน

6.มีผลให้ความดันโลหิตลดลงและช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดยับยั้งโรคเบาหวานได้ผลดี

7. มีกรดไขมันไลโนเลนิค (Linolenic acid) หรือโอเมก้า 3 ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมอง อันเป็นสาเหตุของโรคความจำเสื่อม โรค อัลไซเมอร์ โรคอัมพฤต

8. มีกรดไขมันไลโนเลอิค (Linoleic acid) หรือโอเมก้า 6 ช่วยให้ผิวหนังสดใสมีน้ำมีนวล และช่วยระบบสืบพันธุ์ให้ทำงานเป็นปกติ ทำให้ประจำเดือนมาปกติ

9. ช่วยบำบัดอาการผิดปกติของชาย-หญิง วัยเจริญพันธุ์ (ให้ผลดีในการรักษาผู้มีบุตรยาก) และสตรีวัยทอง

10.มีวิตามินอีในรูปของโทโคเฟอรอล (Tocopherol) และโทโคไทรอีนอล (Tocotrienol) ซึ่งจะช่วยยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ สำหรับโรคภูมิแพ้จะบำบัดได้ผลดีมาก

11. มีสารเซราไมด์ (Ceramide) ช่วยบำรุงผิวพรรณให้นุ่มนวลอ่อนเยาว์ ลบเลือนริ้วรอยเหี่ยวย่น ด่างดำ ฝ้าและกระ ค่อยๆจางลง

12. ลดภาวะท้องผูก ช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ใหญ่

13. มีสารเมลาโทนีน (Melatonin) ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยลดอาการเครียด

14. สารอาหารต่าง ๆ

       a. มีวิตะมินเอ ( บำรุงสายตา ) , บีรวม ( บำรุงเส้นประสาทฝอยต่างๆ –รักษาปากเปื่อย ปากนกกระจอก ร้อนใน) , เบต้าแคโรทีน ( บำรุงสายตาและสมอง ) – ประโยชน์โดยภาพรวม ก็คือ ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น

       b. สารไฟโตสเตอรอล ช่วยอย่างมากในเรื่องการลดแคเรสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์, ลดอาการอักเสบ, ลดอาการบวม และช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยได้มากในผู้ที่ไขข้ออักเสบ เก๊าท์

       c. มีแคลเซี่ยม ( บำรุงกระดูก ) , เหล็ก ( บำรุงเลือด ) , เซเลเนียม ( บำรุงสมอง ), สังกะสี (ป้องกันมะเร็ง ) , แมงกานีส และโครเมียม

       d. มีโปรตีน (เป็นโปรตีนจากพืช เพราะข้าวคือพืชนั่นเอง)

นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารที่สำคัญที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายคือ สารเซเลเนียมอีกด้วย โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อHIV จะได้ประโยชน์จากสารตัวนี้เป็นพิเศษ

 

ข้าวกับเครื่องสำอางค์

จากฐานข้อมูลตำรับยาสมุนไพรไทย "มโนสร้อย 2" พบว่ามีตำรับยาสมุนไพรไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตล้านนาในอดีต มีข้าวเป็นองค์ประกอบในตำรับยาสมุนไพรที่มีข้อบ่งใช้เป็นยาอายุวัฒนะและ บำรุงผิวพรรณ จึงได้นำเอาคุณค่าของข้าวและองค์ความรู้จากภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาให้เป็น ผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อและสร้างภูมิต้านทานโรค และพบว่าข้าวหอมมะลิ มีปริมาณสารสำคัญมากที่สุด อาทิ แกมมา-ออไรซานอล, กรดไฟติก, กรดเฟอรูลิค, โทโคเฟอรอล, โทโคไตรอีนอล และกรดไขมันไม่อิ่มตัวอีกหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดปฏิกิริยายออกซิเดชั่นอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อเยื่อเสื่อมสภาพ

จากการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการพบว่าผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากข้าวหอมมะลิมี ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดสี ยับยั้งเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 (MMP-2) ที่เกี่ยวข้องกับการสลายคอลลาเจนอันเป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอย นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง โดยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง

ดังนั้นการเพิ่มมูลค่าของข้าวหอมมะลิ โดยนำมาแปรรูปมาเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าสูง สามารถนำมาผลิตเป็นเวชสำอางที่ชะลอความแก่ ที่มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดโลกสูง ซึ่งตลาดเครื่องสำอางมีการเติบโตถึงปีละร้อยละ 20

 

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 72,269 Today: 2 PageView/Month: 138

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...